ภาษีการนำสินค้าเข้ามา? |
ถาม
อยากได้สินค้าจากต่างประเทศ แต่กลัวเรื่องภาษีจัง
ทำอย่างไรถึงจะไม่โดนครับ? ตอบ คุณ "ไม่ควรกลัวเรื่องภาษี" ค่ะ ไม่ใช่เพราะว่าไม่โดน แต่มันตรงกันข้าม คือยังไงก็เข้าข่ายโดนแน่ๆค่ะ เหตุผลก็เพราะหลักการเสียภาษีที่ศุลกากรใช้คือ "สินค้าที่มีมูลค่าของสินค้าบวกด้วยค่าส่ง เกิน 1,000 บาท ต้องเสียภาษีศุลกากรขาเข้าทุกกรณี" ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว ไม่ว่าตัวสินค้าจะถูกแสนถูกอย่างไร แต่เมื่อบวกค่าขนส่งเข้ามาแล้ว ก็มีมูลค่าเกิน 1,000 บาททั้งนั้น ดังนั้น คุณถ้าคุณอยากได้ของต่างประเทศชิ้นนั้นๆจริงๆ อย่างแรกสุดคือคุณจะต้องทำใจให้ได้ว่าสินค้านั้น มีสิทธิ์โดนภาษีได้ทุกเมื่อ ซึ่งจริงๆแล้วในทางปฏิบัติ จะมีสินค้ามากมายที่รอดสายตาศุลกากร และได้รับการยกเว้นอากร หรือเสียแค่เพียง 7 บาทเท่านั้น เพราะศุลกากรใช้ระบบสุ่มตรวจ ไม่ได้ตรวจทุกชิ้นหรอกค่ะ เพียงแต่ดิฉันแนะนำว่า ให้ทำใจไว้ก่อนล่วงหน้าเท่านั้นว่า สินค้ามีสิทธิโดนภาษี ซึ่งถ้าไม่โดนก็เป็นโชคดีของเราไปน่ะค่ะ ถาม ถ้ารู้ว่าจะต้องเสียภาษีอย่างนี้ สู้ใช้บริการ "หิ้ว" ของเข้ามา หรือว่า ซื้อสินค้านั้นผ่านตัวแทนในไทยไม่ดีกว่าหรือ? ตอบ คนที่เขาหิ้วเข้ามา หรือตัวแทนที่ขายสินค้านั้นๆในไทย เขาคงไม่ทำให้ฟรีๆ หรือว่าขายราคาต้นทุนให้คุณหรอกค่ะ เขาก็ต้องบวก "กำไร" ลงไปกันทั้งนั้น และเจ้าตัวกำไรที่เขาบวกไว้นั้น ถ้าจะว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว ย่อมสูงกว่าภาษีแน่นอนค่ะ อีกทั้ง ดิฉันแนะนำว่า คุณควรลองเสี่ยงกับ "การรอด-ไม่รอด" จากศุลกากรจะดีกว่า เพราะถ้ารอดสายตาศุลกากรได้ คุณก็ไม่ต้องเสียภาษี ก็คือได้ตัวสินค้าบวกค่าขนส่งมาฟรีๆเลย ถ้าไม่รอดก็ไม่เป็นไร เพราะเมื่อรวมภาษีแล้ว ออกมามันก็ยังถูกกว่าการซื้อด้วยวิธีอื่นอยู่ดีแหละค่ะ บทความเกี่ยวกับเรื่องภาษี ก่อนจะพูดถึงเรื่องจำนวนเงินที่ต้องภาษีโดยละเอียดนั้น ทางเวบขอเปิดตัวสำหรับการเสียภาษีเอาไว้ดังนี้นะคะ การเสียภาษีนั้น เขาจะมีเอกสารมาให้เราสองแบบ ( แบบใดแบบหนึ่ง ) ดังข้างล่างนี้ |
|
( ภาพบน ) แบบต้องไปเสียเอง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ |
ถ้าเป็นการไปเสียค่าภาษีเอง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์นั้น
ก็ไม่มีอะไรยากค่ะ แค่เอาบัตรประชาชนพกติดตัว
แล้วเดินทางไปจ่ายภาษี ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้านได้เลย แต่ว่าถ้าเอกสารที่ได้รับ
เป็นไปดังข้างล่างนี้
|
|
( ภาพบน ) ไปเสียภาษีแบบมีการสอบสวน ที่ด่านศุลกากร |
ถ้าเป็นการเสียภาษีแบบที่ต้องมีการสอบสวนตามแบบฟอร์มข้างบนนี้
ซึ่งก็คือ "การเดินพิธีทางศุลกากร"
ซึ่งจะเกิดกับสินค้าที่คุณสั่งซื้อมา "มากเกินไป" จนต้องเสียภาษีการค้า
หรือไม่ก็เป็นสินค้าต้องห้ามอื่นๆ เช่นสิ่งมีชีวิต ,อาวุธสงคราม
เป็นต้น เอาล่ะค่ะ ที่พูดมานั้น ก็คือขั้นตอนของการชำระภาษีนะคะ ต่อไปเราก็จะมาเข้าหัวเรื่องหลัก คือจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายค่าภาษีค่ะ รัฐบาลของทุกประเทศ เน้นเรื่องการส่งสินค้าภายในประเทศ ออกไปขายนอกประเทศ แต่จะมีนโยบายกีดกันการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศ และรูปแบบของการกีดกันที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ "ภาษี" นั่นเองค่ะ ( ดังนั้น การที่คุณฝากคนซื้อของแบบ "หิ้ว" เข้ามา นั่นคือการเลี่ยงภาษี วันดีคืนดี อาจมีสรรพสามิต หรือศุลกากร ไปเยี่ยมคุณที่บ้าน และให้คุณโดนค่าปรับ 15 เท่าสำหรับสินค้าที่นำมาขาย หรือ 10 เท่าสำหรับสินค้าที่มีไว้ในครอบครอง ดังนั้น วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือ ให้ผ่านระบบการตรวจและเสียภาษีตามปกติแบบที่ดิฉันทำให้ดีกว่าการหิ้วผ่านด่านเข้ามาค่ะ ) ภาษีที่คุณจะต้องเจอเมื่อสั่งซื้อของจากต่างประเทศ ( ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อทางอินเตอร์เนทหรือวิธีอื่นๆ ) มี 3 อย่างรวมกันค่ะ คือ 1.ภาษีศุลกากร 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม และ 3.ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย ณ.ปัจจุบันนี้ มีเพียงสินค้า "หนังสือจากต่างประเทศ" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร นอกนั้น ต้องเสียหมดไม่มีข้อยกเว้นค่ะ พูดง่ายๆคือตอนนี้ คุณควรตัดใจไปก่อนเลยว่าถ้าของที่คุณต้องการ ไม่ใช่หนังสือล่ะก็ ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งอัตราปกติตอนนี้ก็คือ 20 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ศุลกากรเขารู้ทันเรา! ศุลกากรเขารู้ทันเราว่า ร้อยทั้งร้อย คนสั่งของจากเมืองนอก ก็จะขอให้ฝรั่งเขียนราคามาถูกๆ เพื่อเวลาคิด 27% ก็จะได้เสียน้อยๆ ดังนั้น เขาจะมีตารางภาษีที่ระบุตาม "ชนิด" ของสินค้าวางเทียบเลย ยกตัวอย่างสินค้ายอดฮิต คือตัวต่อของเล่น ( โมเดล ) จากญี่ปุ่น เขาจะคิด 850 - 872 บาทต่อชิ้นเป็นหลัก โดยไม่สนว่าราคาสินค้าจริงๆนั้นจะเท่าไร เพราะเขา เหมา เลยว่าคนสั่งของเข้ามาทุกคน ปลอมราคาหน้ากล่องทั้งนั้น นั่นหมายความว่าเมื่อเราสั่งของราคา 1,000 บาท เข้ามา แทนที่เราจะจ่ายภาษี 84 บาท ( คำนวณจาก 1,000 x 20% = 200 แล้วบวกด้วย Vat 7% คือ 1,200 x 7% = 84 บาท ) คุณกลับต้องจ่าย 252 บาท เลยทีเดียว ( ซึ่งภาษี 252 บาทนี้ คือภาษีสำหรับสินค้าราคา 3,000 บาท ซึ่งความจริงเราสั่งซื้อมาแค่ 1,000 บาทเท่านั้น ) ไม่พอใจก็ช่วยไม่ได้! ความมั่วในการตีราคานี้ ส่งผลต่อคนอย่างเราๆท่านๆเต็มๆเลยค่ะ เพราะการเปลี่ยนราคาหน้ากล่องนั้น ไม่ใช่ว่าผู้ขาย ( ฝรั่ง ) เขาจะยอมเปลี่ยนให้เราทุกคน โดยเฉพาะจากบริษัทใหญ่ๆนั้น เขาถือว่าการเปลี่ยนราคาหน้ากล่องคือการกระทำที่ผิดกฎหมายเลย จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องมายอมเสี่ยงเพื่อเรา ดังนั้นปัญหาก็คือ เมื่อราคาหน้ากล่องเป็นราคาเต็ม ( เพราะฝรั่งไม่ยอมเปลี่ยนราคาให้เรา ) แต่ ศุลกากร จ้องแต่คิดว่า ราคาหน้ากล่องอันนั้น คือราคาที่ปลอมมาแล้ว ดังนั้น เราจึงเสียภาษีอย่างไม่ยุติธรรมต่อไป แล้วเราจะทำอย่างไร? คำตอบคือมีทางเลือกแค่สองทางค่ะคือ 1.ยอมให้ศุลกากรยึดของไปเลย โดยมีขั้นตอนคือด่านศุลกากรจะเก็บของนี้ไว้ 30 วันก่อน เมื่อเห็นว่าไม่มีคนมาติดต่อ ก็จะส่งของนี้ไปให้ "เจ้าหน้าที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย" ดำเนินการส่งคืนไปให้กับฝรั่งทันที ( แต่การโดนตีกลับแบบนี้ เราไม่สามารถขอ Refund ( คืนเงิน ) จากคนขายได้นะคะ คือเราเสียเงินฟรีไปเลยน่ะค่ะ ) 2.ทางเลือกที่สองคือก้มหน้าก้มตารับกรรมรองรับความมั่วในการคิดภาษีนี้ไป ( ซึ่งส่วนมากเราก็เลือกข้อนี้กันทั้งนั้นแหละค่ะ ) หน่วยงานของรัฐบาลหน่วยงานนี้ เขาถือว่า ถ้าคุณไม่พอใจ ก็ช่วยไม่ได้! ทีหลังก็อย่าสั่งซื้อสิ ,ซื้อของในประเทศไทยสิ อะไรทำนองนี้น่ะค่ะ ดังนั้น คุณจึงควรทำใจในเรื่อง วิธีตีราคาประเมินราคาสินค้า ( แบบมั่วๆ ) ของศุลกากร ด้วยนะคะ มาดูตัวอย่างของจริงเลยดีกว่าค่ะ |
|
สั่งซื้อของเล่น หุ่นกันดั้มจากต่างประเทศ ( เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ) |
|
|
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ดิฉันได้สั่งซื้อหุ่นกันดั้มจำลอง ราคาสินค้ารวมค่าส่งแล้วคือ 8,600 เยน คิดเป็นเงินไทยคือ 2,580 บาท ดังภาพข้างบนทั้งหมด และได้โอนเงินไปเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็รอสินค้า จนกระทั่งได้มีเอกสารมาส่งให้ที่บ้าน ดังภาพข้างล่างนี้ |
|
( ภาพบน )
ใบเรียกเก็บค่าอากรขาเข้า พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มของหุ่นกันดั้มตัวนี้ |
|
ก.นี่ไงคะ
ราคาประเมิน (
แบบมั่ว ) ที่เราพูดถึงในหน้านี้ จะเห็นได้ว่าเขาประเมินราคา
สูงกว่าความเป็นจริงถึง 500 บาทเฉยเลย!
( ราคา 2,580 บาท แต่ตีเป็น 3,000 บาท )
ทั้งๆที่หน้ากล่องก็บอกราคาจริงมาแล้ว แต่เขาถือว่าเราปลอมหน้ากล่องมาแหงๆ
( แล้วถามว่าถึงจะปลอมหรือไม่ปลอมนั้น ทางศุลกากรมีหลักฐานอะไรมาปรักปรำเรา จริงไหมคะ
) ข.ค่าอากร 20% ของราคาประเมิน ซึ่งก็คือ 600 บาท ค.ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก็คือ ( 3,000 + 600 ) x 7% = 252 บาท ง.ยอดเงินที่โดนหักจากด่านศุลกากรทั้งหมดคือ 852 บาท ซึ่งความจริงแล้ว ภาษีที่เราควรจะโดนจริงๆก็คือ 732.72 บาท ( มาจาก 2,580 x 20% = 516 บาท แล้วเอา 2,580 + 516 = 3,096 บาท แล้วคิด 7% คือ 3,096 x 7% = 216.72 บาท แล้วเอาไปบวกกับ 516 บาท =732.72 บาท ) แต่ทำไมตัวเลขที่เขาคิดจากเราถึงเป็น 852 บาท! จ.ค่าฝากของ ตอนที่จะให้เราไปรับอีก 20 บาทต่างหาก สินค้าเข้ามาวันละเป็นพันๆ กล่อง ก็คิดดูว่าส่วนต่างจะเป็นเท่าไร และส่วนต่างนี้หายไปไหน? ( 852 - 732.72 = 119.28 บาทต่อ 1 กล่อง ) แต่ก็อย่างว่าแหละค่ะ เขาก็พูดว่า "ไม่พอใจเหรอ ไม่ต้องเอาของก็ได้นะ จะได้ส่งคืนกลับไปให้ฝรั่ง" เจอไม้นี้เข้าไป เราก็ต้องก้มหน้าก้มตารับกรรมกันไปล่ะค่ะ ข่าวดี! แม้ว่าระบบการตรวจของศุลกากรจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก แต่ก็ยังขึ้นอยู่บนพื้นฐาน การสุ่มตรวจ "Inspected by customs" คำว่าสุ่ม ก็คือบางอันก็ได้ตรวจ บางอันก็ไม่ได้ตรวจ ดังนั้น ถ้าคุณโชคดี คุณก็อาจผ่านการตรวจแบบละเอียดมาได้ ทำให้เสียภาษีแค่ 7 บาทเองค่ะ ดิฉันจะยกตัวอย่างของจริงให้เห็นดังนี้ค่ะ |
![]() |
สินค้าถึงจะมาพร้อมกัน แต่ค่าภาษีแต่ละกล่อง ไม่เท่ากัน |
ตามรูปที่เห็นด้านบนนี้ คือสินค้าที่รับเข้ามาพร้อมกัน มาจากญี่ปุ่น 1 ใบ อเมริกา 3 ใบ โดยมี 2 กล่องที่มีลักษณะทางกาย คือกว้าง ,ยาว และน้ำหนักพอๆกัน ปรากฏว่าทั้ง 4 ใบนี้เสียภาษีไม่เท่ากัน อันที่แตกต่างกันทางกายภาพนั้น เราไม่พูดถึง แต่มาดูเฉพาะอันที่กว้าง,ยาวและน้ำหนักพอๆกันดีกว่าค่ะ ดัง 2 กล่องในรูปข้างล่างนี้ |
|
|
|
( ภาพบน )กล่องแรกนี้ เสียภาษี 332 บาท - ตรวจแบบละเอียด |
|
( ภาพบน ) กล่องที่สอง เสีย 7 บาท - ผ่านการสุ่มตรวจ |
ดังนั้น ถ้าจะถามว่าเวลาสั่งซื้อสินค้าจากต่างประทศ
จะต้องเสียภาษีเท่าไร? ดิฉันก็ตอบไม่ได้จริงๆ
เพราะคุณอาจเป็นผู้โชคดีโดนเก็บแค่ 7 บาท
หรือถ้าโชคร้ายตรงที่ถูกแกะกล่องแล้วเอาสินค้ามาตรวจอย่างละเอียด
คุณก็อาจมีโชคดีตรงที่ไม่ต้องเสียค่าอาการเลยก็ได้
ดังตัวอย่างของจริงข้างล่างนี้ |
|
( ภาพบน ) บางกล่อง
ถ้าโดนศุลกากร ยำกล่องสินค้ามาเสียเละ
( เพื่อตรวจสอบข้างใน ) |
|
( ภาพบน )ถ้าเป็นแถบสีเหลืองแปะมา คือเสียภาษีอย่างเดียว |
![]() |
( ภาพบน )แถบสีแดง คือต้องไปถูกสอบสวนและดำเนินพิธีการทางศุลกากรค่ะ |
- END - |