เมื่อไรจะได้รับพัสดุ |
* * * หากภาพในหน้าเวบนี้ขึ้นไม่ครบ กรุณาคลิ๊กที่ปุ่ม
"Reload this page" นะครับ /
ถ้าหาปุ่มนี้ไม่พบ ให้อ่านคำแนะนำที่ลิงก์นี้ครับ
http://www.tuvagroup.com/7fvhp-A-03-Q-591211-1724.html - - - - - - - - - - - - - - - - - - - การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ มีความแตกต่างจากการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย นั่นก็คือ ถ้าเราสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย เพียงไม่เกิน 3 วัน เราก็จะได้รับสินค้าแล้ว เหตุผลก็เพราะว่า เมื่อผู้ขายนำกล่องพัสดุไปส่งให้บริษัทไปรษณีย์ไทยดำเนินการต่อ เจ้ากล่องพัสดุสินค้านั้น ก็จะเดินทางเพียง "ขั้นตอนเดียว" คือเดินทางจากบริษัทไปรษณีย์ไทย แล้วตรงไปที่บ้านลูกค้าเลย ด้วยเหตุนี้ การซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยด้วยกันเอง จึงได้รับของภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน แต่การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศจะแตกต่างออกไป เพราะการเดินทางของกล่องพัสดุสินค้านั้น จะต้องเดินทาง "หลายขั้นตอน" ซึ่งเมื่อกล่องพัสดุสินค้าต้องมีการเดินทาง "หลายขั้นตอน" ก็เลยเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับพัสดุสินค้าช้ากว่าการซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยด้วยกันเป็นอยางมาก |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b01.jpg
|
(
ภาพบน ) ในการอธิบายนั้น
ทีมงานขอยกตัวอย่างมาให้ดู ดังเคสที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ เคสที่เห็นในภาพข้างบนนี้ก็คือว่า คุณลูกค้าท่านนี้ อยากจะได้รับสินค้าชิ้นนี้จากประเทศอเมริกา ให้ส่งถึงมือตัวเอง ( ที่ประเทศไทย ) ในเวลาไม่เกิน 2 - 4 วัน และเมื่อเห็นข้อความตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีแดง ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ก็เลยมั่นใจว่าถ้าโอนเงินให้คนขายคนนี้เมื่อไร ก็จะต้องได้รับพัสดุสินค้าถึงมือภายในเวลา 2 - 4 วันนับจากวันที่ทีมงาน tuvagroup.com โอนเงินให้คนขายเป็นแน่ แต่พอทีมงาน tuvagroup.com ดำเนินการสั่งซื้อให้แล้ว ( คือทีมงานโอนเงินให้คนขายเรียบร้อยแล้ว ) ปรากฏว่า คุณลูกค้าต้องรอนาน "เป็นเดือนๆ" กว่าที่สินค้าจะถึงมือ ??? / เกิดอะไรขึ้น! มีอะไรผิดพลาดหรือ? ทำไมถึงไม่ได้รับภายใน 2 - 4 วันตามที่คนขายเขาเขียนไว้ คำตอบก็คือว่า ไม่มีอะไรผิดพลาดหรอกครับ แต่ "ระบบ" มันเป็นอย่างนั้นเอง ( คำว่า "ระบบ" ในที่นี้ หมายถึง "รูปแบบ" การเดินทางของกล่องพัสดุสินค้าของคุณ ที่ต้องเดินทางออกจากมือของผู้ขาย จนกระทั่งเดินทางมาถึงมือของลูกค้า ( คือคุณ ) ที่ประเทศไทย ) คำว่า "ระบบ" มันเป็นอย่างนั้นเอง นั้น ทีมงานได้พูดเปรียบเทียบให้ฟังไปก่อนหน้านี้แล้วว่า ![]() ![]() * * * ดังนั้น คุณต้องเปลี่ยนคำถามใหม่! เพราะถ้าคุณถามว่า ทำไม เวลาสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ถึงต้องรอนานมากๆขนาดนี้? ถ้าคุณถามมาอย่างนี้ ทีมงานก็ตอบได้สั้นๆว่า ก็เพราะ "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างนั้นเอง / ซึ่งคำตอบนี้ มันไม่ทำให้คุณเกิดความกระจ่าง คุณควรจะตั้งคำถามเสียใหม่ว่า "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างไร? นี่สิครับ ถึงจะเป็นคำถามที่ถูกต้อง และเมื่อคุณตั้งคำถามได้ถูกต้องแล้ว ( คือคุณตั้งคำถามว่า "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศมันเป็นอย่างไร? ) ทีมงานก็ขอตอบ ด้วยการอธิบายดังนี้นะครับว่า "ระบบ" ของการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศก็คือว่า การส่งกล่องพัสดุสินค้าจากมือคนขายที่อยู่ต่างประเทศ มาถึงมือลูกค้าที่อยู่ในประเทศไทย มันต้องผ่านขั้นตอน "หลายขั้นตอน" และในหน้าเวบนี้ ทีมงานจะแจงให้คุณผู้อ่านได้เรียนรู้ว่า ไอ้เจ้าคำพูดที่ว่า "หลายขั้นตอน" นั้น มันมีอะไรบ้าง? โดยจะเริ่มต้นตรงที่ เรา ( ซึ่งคือตัวลูกค้า ) ได้โอนเงินค่าสินค้าพร้อมค่าส่ง โอนไปให้คนขายที่อยู่ต่างประเทศเรียบร้อยแล้วนะครับ มาดูกันเลยครับ |
ขั้นตอนที่หนึ่ง - "1 -
5 วัน" สำหรับ Processing Time |
คำว่า
Processing Time ในที่นี้หมายถึง
ระยะเวลาในการดำเนินการจัดเตรียมสินค้า จนกระทั่งเอากล่องพัสดุสินค้ากล่องนั้น
นำไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน อธิบายได้ดังนี้ว่า หลังจากที่ลูกค้าโอนเงินให้กับคนขายแล้ว สมมติว่าโอนเงินให้คนขายวันอังคาร คนขายก็ใช้เวลาในวันนั้น ( คือวันอังคาร ) ทำการห่อกล่องสินค้าให้เรียบร้อย / พอวันรุ่งขึ้น คนขายก็นำกล่องพัสดุสินค้านั้น ไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ( คือวันพุธ ) / แล้วที่ทำการไปรษณีย์ ก็นำพัสดุกล่องนั้นไปส่งที่สนามบินในวันถัดไปเลย ( คือวันพฤหัส ) / กรณีนี้ ถือได้ว่า Processing Time ใช้เวลา 3 วัน คือวันอังคาร ,วันพุธ และวันพฤหัส คราวนี้สมมติว่า เป็นกรณีที่ว่า ลูกค้าโอนเงินให้คนขายวันศุกร์ตอนหัวค่ำ ( ตามเวลาที่ประเทศอเมริกา ) คนขายก็เลยต้องรอเบิกของจากโกดังในวันจันทร์ / พอถึงวันจันทร์ คนขายก็ไปเอาสินค้าออกมาจากโกดัง มาทำการห่อกล่องสินค้าให้เรียบร้อย แล้วนำไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ในวันนั้นเลย ( คือส่งที่ทำการไปรษณีย์ในวันจันทร์ ) / แล้วที่ทำการไปรษณีย์ ก็นำกล่องพัสดุสินค้ากล่องนั้น ไปส่งที่สนามบินในวันถัดไป ( คือวันอังคาร ) / กรณีนี้ ถือได้ว่า Processing Time ใช้เวลา 5 วัน คือวันศุกร์ ( รับเงินจากลูกค้าตอนหัวค่ำ ) ,วันเสาร์ ( รอเบิกสินค้าจากโกดัง ) ,วันอาทิตย์ ( รอเบิกสินค้าจากโกดัง ) ,วันจันทร์ ( เบิกสินค้ามาห่อกล่อง แล้วนำกล่องพัสดุสินค้านั้นไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ) และวันอังคาร ( บริษัทไปรษณีย์นำกล่องพัสดุสินค้านั้นไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบิน ) * * * ถ้าคุณผู้อ่านจะถามว่า ตกลงว่าลูกค้าต้องรอ "ขั้นตอนที่หนึ่ง" ซึ่งก็คือการรอในช่วงของ Processing Time กี่วันกันแน่? คำตอบก็คือว่ามัน "ไม่แน่นอน" เพราะมันขึ้นกับว่าคุณลูกค้าโอนเงินให้คนขายวันไหน? ( อย่าลืมว่าเวลาของประเทศไทยกับอเมริกาจะเคลื่อนกันประมาณ 10 - 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นรัฐไหนของอเมริกา ) รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น นิสัยส่วนตัวของคนขาย ( หมายถึงความรับผิดชอบ ) , ความใกล้ไกลจากบ้านของคนขาย ไปถึงที่ทำการไปรษณีย์ รวมถึงสภาพภูมิอากาศ ( ทีมงานเคยเจอเคสที่คนขาย "เสื้อกันหนาว" ใช้เวลา Prcessing Time นานเป็นอาทิตย์ ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านคนขายอยู่ในชนบทห่างไกลความเจริญ และหิมะตกหนักจนถนนสัญจรไปมาไม่ได้ / ก็เลยต้องรอหลายวันกว่าจะเคลียร์ถนนให้รถวิ่งไปมาได้ จากนั้นจึงค่อยเดินทางหลายสิบกิโลมาส่งพัสดุสินค้า ณ.ที่ทำการไปรษณีย์ ในตัวเมือง ก็เลยทำให้ Processing Time ใช้เวลามากเป็นอาทิตย์ ) อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของทีมงานในรอบ 11 ปีนี้ ทีมงานขอใช้การเฉลี่ย จากการที่บางเคสก็ใช้เวลาน้อย บางเคสก็ใช้เวลามาก เป็นว่า Processing Time คือ 3 วัน ( โดยเฉลี่ย ) ก็แล้วกันนะครับ |
ขั้นตอนที่สอง - "19 วัน" สำหรับการรอในช่วงขั้นตอนของเจ้าพนักงานศุลกากร |
เมื่อกล่องพัสดุสินค้าเดินทางมาถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
ก็จะมีเจ้าพนักงาน นำพัสดุสินค้าทั้งหมดในเครื่องบินลำนั้น
ไปเข้าสู่ขั้นตอนวิธีการทางศุลกากรในทันทีเลยนะครับ ขั้นตอนวิธีการทางศุลกากรที่ว่านี้ ก็ได้แก่การนำกล่องพัสดุสินค้า "ทั้งหมด" ( คือของคุณด้วย ของคนอื่นที่ส่งมาในเที่ยวบินเดียวกันนี้ด้วย ) ไปตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดกฏหมาย หรือผิดระเบียบศุลการกร ( เช่น ยาเสพติด หรือ อาวุธปืน ฯลฯ ) แอบใส่มาในกล่องพัสดุนั้นด้วยหรือเปล่า รวมไปถึงเรื่องการคำนวณภาษีกับสินค้าในกล่องพัสดุแต่ละกล่องด้วย ขั้นตอนวิธีทางศุลกากรที่ว่านี้ ใช้ประมาณเวลา "19 วัน" นะครับ ถามว่า เลข "19 วัน" เอามาจากไหน? ดูคำตอบได้จากภาพข้างล่างนี้นะครับ |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b02.jpg
|
( ภาพบน )
การเช็คสถานะสินค้า |
(
ภาพบน ) รายละเอียดในรูปข้างบนนี้
มาจากการที่ทางทีมงาน tuvagroup.com
ได้เช็คสถานะสินค้าให้ลุกค้าท่านหนึ่งเอาไว้ โดยผลการเช็คถสถานะ
ปรากฏดังที่เห็นในภาพข้างบนนี้นะครับ ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็คือว่า ![]() ![]() ![]() * * * ซึ่งจากคำพูดที่ทีมงานพูดไว้ก่อนหน้านี้ที่ว่า ถ้าเป็นการที่คนไทย ส่งพัสดุให้คนไทยด้วยกัน ภายในประเทศไทยด้วยกัน ก็จะใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน * * * คือหมายความว่า เมื่อคนไทย นำกล่องพัสดุ "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทยเมื่อไร ( หมายถึงการนำกล่องพัสดุไปส่ง ณ.ที่ทำการไปรษณีย์เมื่อไร ) ก็ให้นับจากวันที่นำกล่องพัสดุ "เข้าสู่ระบบ" นั้น ไปข้างหน้า 3 วัน ผู้รับก็จะได้รับพัสดุนั้นแล้ว ( เช่น ถ้าส่งวันที่ 1 ผู้รับ ก็จะได้รับวันที่ 4 ) * * * คราวนี้ พอเราดูในภาพข้างบนนี้ จะเห็นว่า ผู้รับ ได้รับพัสดุสินค้าเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ( ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) * * * นั่นก็หมายความว่า พัสดุสินค้าชิ้นนี้ ต้องพึ่ง "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ( ซึ่งก็คือ 3 วัน ก่อนที่จะถึงวันที่ 22 ธันวาคม ) * * * คือพูดง่ายๆว่า วันที่ 19 ธันวาคม คือวันที่พัสดุสินค้าพึ่งจะออกจากด่านศุลกากร แล้วมา "เข้าสู่ระบบ" ของไปรษณีย์ไทยนั่นเอง - ไม่ งง นะครับ * * * นั่นก็หมายความว่า ระยะเวลาที่พัสดุสินค้าอยู่ในช่วงการดำเนินการตามวิธีการทางศุลกากร ก็คือการเอา 19 ธันวาคม ( วันที่พัสดุสินค้าออกจากด่านศุลกากร ) - ( ลบด้วย ) 30 พ.ย. ( คือวันที่พัสดุสินค้าถูกนำมาเข้าด่านศุลกากร ) = 19 วัน สรุปว่า แม้ว่า เวลาที่เราดูผลการเช็คสถานะในภาพข้างบนนี้ เราอาจจะคิดว่า สินค้าอยู่ในความดูแลของไปรษณีย์ไทย ถึง 21 วัน แต่ความจริงแล้ว มันไปอยู่ในความดูแลของด่านศุลกากร 19 วัน ต่างหาก ( แล้วจึงมาอยู่กับไปรษณีย์ไทยอีก 3 วัน ) จึงสรุปได้ว่า การเดินทางใน ขั้นตอนที่สอง ของกล่องพัสดุสินค้าก็คือ การที่กล่องพัสดุสินค้านั้น มาอยู่ในความดูแลของฝ่ายศุลกากร เป็นเวลา 19 วัน นั่นเอง |
ขั้นตอนที่สาม - "3
วัน" สำหรับ "ขั้นตอนตามปกติ" ของการส่งพัสดุโดยบริษัทไปรษณีย์ไทย |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b03.jpg
|
( ภาพบน )
ไปรษณีย์ไทยไปรับของจากด่านศุลกากร |
![]() |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b04.jpg
|
( ภาพบน )
ไปรษณีย์ไทย นำพัสดุส่งถึงมือลูกค้า ภาพข้างบนนี้มาจาก pantip.com และ itmoomoo.wordpress.com |
(
ภาพบน )
หลังจากที่พัสดุสินค้าผ่าน ขั้นตอนที่สอง (
ซึ่ง ขั้นตอนที่สอง ก็คือช่วงที่พัสดุสินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานศุลกากร )
บริษัทไปรษณีย์ไทยก็จะไปรับพัสดุสินค้าออกมาจากด่าน
ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้คือ ![]() ![]() ![]() |
|
ขั้นตอนที่สี่ - "ไม่รู้เวลาแน่นอน" สำหรับความผิดพลาดแบบแปลกๆ |
จากการที่ทีมงานพูดมาก่อนหน้านี้นั้น เป็น "สามขั้นตอน"
มาตรฐาน
ที่เป็นสาเหตุให้พัสดุสินค้ามาถึงมือคุณลูกค้าช้านะครับ คือหมายความว่า พัสดุสินค้าทุกชิ้นที่ถูกสั่งซื้อออนไลน์ จากต่างประเทศนั้น ลูกค้าจะต้องเสียเวลารอเป็นเดือนๆ เพราะกล่องพัสดุสินค้าของคุณต้องผ่าน "สามขั้นตอน" มาตรฐาน ที่เป็นสาเหตุให้พัสดุสินค้ามาถึงมือลูกค้าช้า ( ยกเว้นลูกค้าที่ ดวงดีจริงๆ ถึงจะได้รับพัสดุสินค้าเร็วกว่านี้ ) แต่ใน "ขั้นตอนที่สี่" ที่ทีมงานกำลังจะพูดให้ฟังนี้นั้น มัน ไม่ใช่ขั้นตอนมาตรฐาน ครับ คือหมายความว่า ความผิดพลาดที่ทีมงานบอกว่าเป็น "ขั้นตอนที่สี่" ที่เป็นความผิดพลาดแบบแปลกๆนี้ มันเกิดขึ้นกับคุณลูกค้าบางท่านเท่านั้นเอง ( ไม่ได้เกิดขึ้นกับลูกค้าทุกท่าน ) ความผิดพลาดแบบแปลกๆที่ว่านี้ มันมีหลายเคสนะครับ แต่ทีมงานจะยกเอามาให้ดูเป็นตัวอย่างสัก 3 เคส ก็แล้วกันนะครับ มาดูกันครับ |
เคสที่ 1
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b05.jpg
|
(
ภาพบน )
เนื่องจากชื่อและที่อยู่ที่ถูกเขียนบนกล่องพัสดุสินค้านั้น
ถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ( เพราะว่า คนเขียน (
ซึ่งก็คือคนขาย ) เขาอยู่ต่างประเทศ จึงไม่ได้ใช้ภาษาไทย )
ดังนั้น ถ้าบังเอิญว่าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย
คนที่จะมาส่งพัสดุสินค้ากล่องนี้ให้คุณ เขา "ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ"
ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ "ส่งผิดบ้าน"
เพราะอ่านภาษาอังกฤษที่ถูกเขียนบนกล่องพัสดุสินค้านั้น แบบถูกๆ ผิดๆ
ก็เป็นได้นะครับ /
เหมือนในเคสที่ปรากฏในอีเมลที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ซึ่งทางทีมงาน tuvagroup.com ยังโชคดีที่คุณลูกค้าเจ้าของอีเมลฉบับข้างบนนี้เป็นคนใจเย็น แทนที่จะอีเมลมาต่อว่าทางทีมงานว่า ทำไมพัสดุสินค้าถึงยังไม่มาเสียที! ก็กลับอีเมลมาบอกทีมงาน tuvagroup.com ด้วยความสุภาพว่ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้าเลย ทางทีมงาน tuvagroup.com จึงได้แนะนำให้สอบถามกับทางไปรษณีย์อีกทีหนึ่ง / ซึ่งจากการตรวจสอบ ปรากฏว่าพนักงานไปรษณีย์ส่งผิดบ้านจริงๆ ซึ่งเมื่อเราดูตรงที่ ลูกศรสีเขียวชี้ ก็จะเห็นว่าของหายไปนานถึง 15 วัน เลยทีเดียว ( 9 ธ.ค. ถึงวันที่ 24 ธ.ค. ) |
เคสที่ 2
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b06.jpg
|
(
ภาพบน ) ทีมงาน tuvagroup.com
สั่งซื้อเครื่องสแกนบาร์โค้ดให้คุณลูกค้าท่านนี้ 2 ชุด /
หลังจากสั่งซื้อเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งแล้ว
ทีมงานก็สอบถามคุณลูกค้าไปว่าได้รับสินค้านี้หรือยัง (
ตามที่ปรากฏอยู่ในอีเมลของทีมงาน
ในภาพข้างบนนี้นะครับ )
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b07.jpg
|
(
ภาพบน )
คุณลูกค้าตอบกลับมาว่ายังไม่ได้รับพัสดุสินค้าทั้ง 2 ชิ้นนั้น (
ตรงที่ ลูกศรสีเขียว
ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ ) คือดูรูปการณ์แล้ว เหมือนกับว่า
ของหาย! นั่นเอง
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b08.jpg
|
(
ภาพบน ) บังเอิญว่าการส่งครั้งนี้
เป็น "การส่งแบบแพง" ก็เลย เช็คสถานะสินค้าได้
( คือถ้าเป็น "การส่งแบบถูก"
มันจะเช็คสถานะสินค้าไม่ได้ ) /
ทีมงานก็เลยเช็คสถานะสินค้าให้ และยืนยันกับทางคุณลูกค้าว่าของไม่หายแน่นอน
ให้ลองค้นหาพัสดุสินค้ากล่องนั้นให้ดีอีกที
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b09.jpg
|
(
ภาพบน )
ผลการตรวจค้น ( อีกครั้ง ) ปรากฏว่าในที่สุด คุณลูกค้าก็เจอพัสดุสินค้าดังกล่าวอยู่ในบ้านของตัวเอง โดยพัสดุสินค้าดังกล่าว
มาถึงตั้งแต่ก่อนที่ทีมงานจะอีเมลไปถามในฉบับแรกด้วยซ้ำ คือมีคนรับสินค้าแทนเจ้าของพัสดุสินค้าไปแล้ว แต่เจ้าของพัสดุสินค้าไม่ทราบ ก็เลยคิดว่าพัสดุสินค้าหาย แต่สุดท้ายก็เจอภายในบ้านนั่นเองครับ มันไม่ได้หายไปไหน / โดยผู้ที่เซ็นรับพัสดุสินค้าเอาไว้ในเคสนี้ก็คือพี่ชายของคุณลูกค้าท่านนี้นั่นเอง ( ปรากฏข้อความตรงที่มี ขีดเส้นใต้สีเขียว ขีดอยู่ในภาพข้างบนนี้ ) เคสนี้ เป็นอุทาหรณ์เตือนสติ ที่ใช้ได้กับคุณลูกค้าที่พักอาศัยอยู่ "คอนโด" หรือ "อพาร์ทเม้นท์" หรือ "หอพักนักศึกษา" ที่มีเจ้าหน้าที่คนอื่น ( เช่น ยาม ) เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณได้ด้วยนะครับ คือบางที ยามคนที่เขาเซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้นั้น เขาลืมบอกคุณ ( คือลืมบอกคุณว่า เขาได้เซ็นรับพัสดุสินค้าไว้ให้แล้ว ) หรือไม่ก็อาจจะเป็นกรณีที่ว่า ยามคนที่เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้นั้น "เปลี่ยนเวร เปลี่ยนกะ" แล้วดันลืมบอกเวรกะใหม่ว่าตัวเอง ( หมายถึงตัวเวรกะเก่าเอง ) ได้เซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคนที่อยู่ในคอนโด ( หรือ อพาร์ทเม้นท์ หรือ หอพักนักศึกษา ) เอาไว้ แล้วพอคุณลูกค้าไปสอบถามเวรกะใหม่ว่า ได้เซ็นรับพัสดุสินค้าอะไรเอาไว้ไหม? คนที่เป็นเวรกะใหม่ก็เลยบอกคุณว่า "ยังไม่มีพัสดุมา" ทั้งๆที่ เวรกะเก่า เขาเซ็นรับพัสดุสินค้าแทนคุณเอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุนี้ ก็เลยทำให้คุณ ซึ่งเป็นเจ้าของพัสดุสินค้า คิดว่าพัสดุสินค้าของตัวเองหายไปแล้วนั่นเองครับ เพื่อป้องกันเคสแบบนี้ ( หมายถึงเคสที่ยามเปลี่ยนเวร เปลี่ยนกะ แล้วลืมบอกเวรกะใหม่ว่า ตัวเอง ( หมายถึงเวรกะเก่า ) ได้เซ็นรับพัสุดุสินค้าแทนคุณเอาไว้ ) ก็ขอให้คุณทำดังนี้คือ ![]() ![]() |
เคสที่ 3
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b10.jpg
|
( ภาพบน )
การเช็คสถานะของพัสดุสินค้า |
(
ภาพบน )
เวลาที่เราสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศนั้น ถ้าเราเลือกวิธีส่ง "แบบแพง"
เราก็จะได้เลข Tracking Number (
เลขเช็คสถานะพัสดุ )
ซึ่งจะทำให้เราสามารถเช็คสถานะพัสดุได้ว่าขณะนี้พัสดุสินค้าของเรา
เดินทางไปถึงไหนแล้ว เมื่อเรามีเลข Tracking Number แล้ว ก็ให้นำเลขดังกล่าวไปกรอกที่เวบของบริษัทผู้ส่งสินค้า / ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้บริการกับบริษัทส่งของชื่อ DPX และเรามีเลข Tracking Number หมายเลข LPKEN000000377871356 ของบริษัท DPX แล้ว วิธีการเช็คสถานะพัสดุสินค้าก็คือ เราต้องเปิดหน้าเวบของบริษัท DPX ขึ้นมาก่อน ( เหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้ ) จากนั้นก็นำเลข Tracking Number ไปกรอกตรงพื้นที่ ที่ทางเวบ DPX เขาจัดไว้ให้สำหรับกรอกข้อมูล ซึ่งในเคสนี้ ก็คือการกรอกลงไปที่ช่องว่างตรงที่ ลูกศรสีม่วง ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ / จากนั้นก็คลิ๊กที่ปุ่ม ตรวจสอบสถานะ ตรงที่ ลูกศรสีเขียว ชี้อยู่ในภาพข้างบนนี้ |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b11.jpg
|
(
ภาพบน ) จากการคลิ๊กไปที่ปุ่ม
ตรวจสอบสถานะ ใน "ภาพก่อนหน้านี้นั้น" หน้าเวบจะเปลี่ยนไป
จนมีหน้าตาเหมือนที่เห็นในภาพข้างบนนี้
|
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b12.jpg
|
( ภาพบน )
ให้ดูเฉพาะตรงส่วนที่มี
กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง
ครอบอยู่ในภาพข้างบนนี้ |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b13.jpg
|
( ภาพบน )
ภาพขยายของส่วนที่อยู่ใน
กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบประสีม่วง
ในภาพก่อนหน้านี้ |
![]() |
รหัสภาพ
Efvhp-A-02-V-590512-2232-b14.jpg
|
(
ภาพบน )
ในข้อมูลที่ปรากฏอยู่ตรงบริเวณที่มี
กรอบสี่เหลี่ยมเส้นขอบสีม่วง ครอบอยู่ ในภาพข้างบนนี้นั้น
บอกไว้ว่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 15.43 น.นั้น ทางบริษัท DPX
ได้นำพัสดุสินค้าไปส่งที่บ้านของลูกค้าแล้ว "แต่"
ไม่สามารถส่งพัสดุให้ลูกค้าได้ เพราะ ผู้รับไม่อยู่ หรือ
ติดต่อไม่ได้ ดังนั้น ทางบริษัท DPX จึงต้องเอาพัสดุสินค้านั้น
นำกลับไปเก็บไว้ที่สาขาของบริษัท DPX เหมือนเดิม การที่คุณโอนเงินสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไปให้คนขายแล้ว แต่รอตั้งนาน ก็ยังไม่ได้รับพัสดุสินค้าที่สั่งซื้อไปสักทีนั้น คุณอาจจะคิดไปว่าสินค้าของคุณ คงโดนศุลกากรยึดไปแล้ว หรือไม่ก็โชคร้าย ที่คนขายดันเป็นมิจฉาชีพ คือรับเงินไปแล้ว แต่ไม่ยอมส่งสินค้าให้ แต่ความจริงแล้ว พนักงานศุลกากร เขาไม่ได้ยึดสินค้าของคุณ และคนขายเอง เขาก็ส่งสินค้าให้เรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีการโกงแต่อย่างใด แต่ว่าตอนที่มีพนักงานมาส่งพัสดุสินค้าให้คุณที่บ้าน คุณบังเอิญไม่อยู่บ้านพอดี หรือไม่ก็ ไม่ได้รับโทรศัพท์เบอร์ที่พนักงานส่งของ พยายามโทรติดต่อหาคุณ หรือไม่ก็ หลังจากพนักงานส่งของ วางหูโทรศัพท์ไปแล้ว และคุณเห็นเบอร์โทรศัพท์แปลกๆบนหน้าจอโทรศัพท์ของคุณแล้ว แต่คุณไม่ยอมโทรกลับไปที่เบอร์นั้น เพื่อเช็คว่าใครที่เป็นเจ้าของเบอร์โทรศัพท์ที่พยายามโทรหาคุณ ด้วยเหตุนี้เอง ( คือไม่มีคนอยู่บ้าน และไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าได้ ) พนักงานส่งของ เขาก็เลยส่งพัสดุสินค้าให้คุณไม่ได้นั่นเองครับ พูดง่ายๆว่า ไม่มีการยึดสินค้า และไม่ได้มีการโกงอะไรเกิดขึ้นหรอกครับ แต่ความผิดพลาด ( คือการที่คุณไม่ได้รับพัสดุสินค้านั้น ) มันเกิดเพราะตัวคุณลูกค้าเอง ที่บังเอิญไม่อยู่บ้านขณะที่พนักงานส่งของ นำพัสดุสินค้าของคุณมาส่งให้คุณที่บ้าน อีกทั้ง คุณก็ไม่ได้รับโทรศัพท์จากพนนักงานส่งของ และหลังจากพนักงานส่งของ วางหุโทรศัพท์ไปแล้ว คุณก็ไม่ยอมโทรกลับไปเช็คที่เบอร์โทรศัพท์ที่พนักงานส่งของ พยายามโทรติดต่อหาคุณ นั่นเองครับ ประเด็นของ เคสที่ 3 ที่คุณกำลังอ่านอยู่นี้ก็คือว่า การที่คุณยังไม่ได้รับพัสดุสินค้านั้น เป็นเพราะตอนที่บริษัทส่งของ นำพัสดุสินค้าของคุณมาส่งที่บ้าน ปรากฏว่าไม่มีใครอยู่บ้าน อีกทั้ง พนักงานส่งของก็ไม่สามารถติดต่อคุณทางโทรศัพท์ได้ด้วย / ดังนั้น บริษัทส่งของ จึงนำพัสดุของคุณกลับไป ส่วนตัวคุณนั้น ไม่ทราบว่าบริษัทส่งของ มาส่งพัสดุสินค้าให้คุณ คุณก็เลยคิดว่าสินค้าของคุณโดนศุลการยึดไปแล้ว หรือไม่ก็โดนคนขายโกง |
|
สรุป ...
|
เวลาที่เราสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศนั้น
ไม่มีใครอยากได้รับพัสดุสินค้าช้าหรอกครับ "แต่" ในเมื่อ "ระบบ"
มันเป็นแบบนี้ ก็ต้องทำใจให้ได้สำหรับความช้าที่เกิดขึ้นน่ะครับ คือถึงคุณจะใจร้อน
ก็ไม่ได้ทำให้ได้รับพัสดุสินค้าของคุณเร็วขึ้นหรอกครับ สู้การทำความเข้าใจในเรื่องของ "ระบบ" ให้ถ่องแท้จะดีกว่า / พอคุณมีความเข้าใจแล้วว่า "ระบบ" มันทำงานของมันอย่างไร คุณก็จะได้ "ทำใจปล่อยวาง" คือปล่อยให้ทุกอย่างมันเป็นไปตามทางของมัน เพราะถึงจะใจร้อนไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร การทำความเข้าใจในเรื่องของ "ระบบ" ในที่นี้ก็คือการที่คุณต้องรู้ว่า เมื่อคุณสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศนั้น พัสดุสินค้าก็ต้องเดินทางหลายขั้นตอนครับ คือ ![]() ![]() ![]() "สามขั้นตอน" ข้างบนนี้ คือขั้นตอนมาตรฐานนะครับ / ส่วนที่ว่าจะ มี ขั้นตอนที่สี่ อีกหรือเปล่า? ก็เป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้น่ะครับ เพราะการได้รับของช้ากว่านี้ ( เพราะเจอ ขั้นตอนที่สี่ ) มันเป็นเรื่องความผิดพลาดแบบแปลกๆ ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นน่ะครับ ทีมงานก็เลยคาดเดาล่วงหน้าให้คุณไม่ได้ว่าจะ มี ขั้นตอนที่สี่ เกิดขึ้นกับคุณหรือไม่? ( ความผิดพลาดแปลกๆ ใน ขั้นตอนที่สี่ ที่ว่านี้ ก็คือความผิดพลาดเหมือนในเคสตัวอย่าง 3 เคส ( คือเคสเรื่องไปรษณีย์ส่งผิดบ้าน ,เคสเรื่องที่พี่ชายเซ็นรับพัสดุสินค้าไว้ให้แล้ว และเคสที่บริษัทส่งของ มาส่งของแล้ว แต่คุณไม่อยู่บ้านและพนักงานส่งของก็ติดต่อคุณทางโทรศัพท์ไม่ได้ ) ที่ทีมงานเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้น่ะครับ ) |
|
- END - |
![]() |
* * * หน้าเวบ "ในส่วนที่อยู่ด้านล่างลงไปนี้" ไม่ได้มีเอาไว้อ่านครับ
/ เป็นแบบฟอร์มที่ Webmaster เก็บเอาไว้บริหารจัดการ ตอนที่จะซ่อมแซม
หรือปรับปรุงหน้าเวบ "ในส่วนที่อยู่ด้านบน" ในอนาคตครับ
|
:/ |
:/ |
รหัสภาพ |
( ภาพบน )
:/ ภาพข้างบนนี้มาจาก |
(
ภาพบน ) |
- END - |
หน้าถัดไป |
1 > 2 > 3 > 4 > 5 > 6 |