การวิ่งดีกว่าการเล่นกล้ามจริงหรือ?


       จริงๆแล้ว ผมไม่อยากจะคุยเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้ เพราะตัวผมเอง มีความคิดว่า กีฬาทุกชนิดก็ให้ประโยชน์เหมือนกันหมด  แต่มันมีกบในกะลาครอบบางตัว ที่มักโจมตีการเพาะกาย ด้วยการบอกว่าควรจะเล่นกีฬาที่อยู่ตรงข้ามกับการเพาะกายจะดีกว่า  แปลไทยเป็นไทยก็คือ ควรจะไปออกกำลังกายแนววิ่ง ,ว่ายน้ำ (ซึ่งเป็นกีฬาแบบ แอโรบิค ) ดีกว่าการมาเล่นกล้าม (ซึ่งเป็นกีฬาแบบ แอนาโรบิค )

       ตัวผมเองนั้น จับตำรามาอ่านทั้งสองแนว คือทั้งแนวแอโรบิค และแนวแอนาโรบิค ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามนั้น หมกมุ่นอยู่กับตำราตัวเองแต่ฝ่ายเดียว ไม่เปิดกว้างรับฟังตำราฝ่ายตรงข้ามบ้าง  ในเมื่อไม่สามารถคุยกันทางด้านวิชาการได้ เพราะอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับฟังนั้น  ผมจึงจะไม่เถียงในแง่วิชาการ แต่จะพูดเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น  ข้อเท็จจริงนั้นก็คือ ตั้งแต่เกิดมา ผมยังไม่เคยเห็นใครตายในขณะเพาะกายเลย  แต่ผมเห็นคนที่ตายในขณะที่ วิ่ง ,ตีปิงปอง และกีฬาแนวแอโรบิคมามากต่อมากแล้ว ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ (ความจริง ผมไม่อยากเอาภาพผู้เสียชีวิตท่านเหล่านี้ มาใช้เลย แต่ก็ถือเสียว่า เพื่อเป็นการถกเถียงทางวิชาการก็แล้วกันครับ)

(ภาพบน) คุณจีรุฒน์  ณ.นคร นายแบบชื่อดัง
เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะที่อายุ 25 ปี "หลังจากพึ่งวิ่งเสร็จ"


(ภาพบน) คุณ ย.โย่ง เอกชัย  นพจินดา คัมภีร์ลูกหนังชื่อดังสุดๆ
เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะที่อายุ 44 ปี "ขณะเล่นเทนนิสช่วงดึก"


(ภาพบน) พลตำรวจเอก เผ่า   ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ
เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะที่อายุ 51 ปี "ช่วงพักในระหว่างตีปิงปอง"

       ยังมีตัวอย่างอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นคุณอ๊อฟ อภิชาติ  พัวพิมล และตัวอย่างอื่นๆที่ไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียง ผมก็เลยอยากจะถามว่า ถ้ากีฬาที่เกี่ยวกับการวิ่ง หรือเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องที่เรียกว่าแอโรบิค มันดีจริงแล้ว ทำไมถึงมีคนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายขณะที่เล่นกีฬาเหล่านั้น  แต่ไม่มีใครเสียชีวิตจากการพึ่งเล่นกล้ามเสร็จใหม่ๆเลย

       คุณอาจจะว่าผมยกตัวอย่างคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว เอามาเป็นตัวอย่าง ซึ่งไม่ยุติธรรม แต่ผมก็อยากย้อนถามว่า ถ้ากีฬาวิ่ง หรือแอโรบิคต่างๆมันดีจริง ทำไมต้องมีข้อยกเว้น (คำว่าข้อยกเว้นก็คือ คนที่หัวใจไม่แข็งแรง เล่นไม่ได้) ลองมาวิเคราะห์กันดูสักตั้ง

คำวิเคราะห์จากผม

       ใช้สองหัวข้อหลักดังนี้ครับ

       1.การเป็นโรคหัวใจนั้น ยังไม่ได้ทำให้เราตายในทันที แต่หากมีการใช้งานหัวใจที่หนักเกิน ก็จะทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ 

       2.ไม่มีนักวิชาการคนไหนเถียงว่า การออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้เราแข็งแรงแล้ว ก็ยังทำให้เราอารมณ์ดีอีกด้วย ทำไมถึงอารมณ์ดี? ก็เพราะร่างกายจะหลั่งสาร เอ็นโดฟิน ออกมา  ซึ่งสารเอ็นโดฟิน มีฤทธิ์เหมือนการเสพกัญชา ทำให้เคลิบเคลิ้ม และไม่มีอันตราย เพราะเป็นสารที่ร่างกายผลิตออกมาจากต่อมใต้สมองโดยธรรมชาติ

       คราวนี้ เอาสองหัวข้อนี้มารวมกัน  ประเด็นคือ ขณะที่คุณวิ่ง หรือตีปิงปอง หรือตีเทนนิส ซึ่งเป็นกีฬาแบบแอโรบิคอยู่นั้น หัวใจของคุณอาจกำลังทำงานหนักเป็นอย่างมาก ซึ่ง ตามปกติ ร่างกายจะต้องส่งสัญญาณนี้ (ที่ว่าหัวใจทำงานไม่ไหวแล้วนะ) ไปที่สมองของคุณ เพื่อให้คุณหยุดทำกิจกรรมเหล่านั้นเสีย หัวใจจะได้กลับมาเต้นตามปกติ

       "แต่" เพราะเอ็นโดฟิน ที่หลั่งออกมาจากการวิ่ง หรือตีปิงปอง หรือตีเทนนิสนั้น ทำให้คุณไม่สามารถรับสัญญาณเหล่านั้นได้ (ที่ว่าหัวใจทำงานไม่ไหวแล้วนะ) เพราะคุณกำลังอยู่ในช่วงดูดดื่มอารมณ์แห่งความสุขจากสารเอ็นโดฟิน (เหมือนพวกทหารที่บาดเจ็บ แล้วแพทย์ทหารฉีดมอร์ฟินให้  ซึ่งความบาดเจ็บนั้น ก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ว่าพวกทหารไม่รับรู้ถึงการบาดเจ็บนั้น เพราะฤทธิ์มอร์ฟิน)  และเมื่อคุณไม่รับรู้ถึงการทำงานที่หนักเกินไปของหัวใจ  คุณก็ยังคงเล่นกีฬานั้นต่อไป และแน่นอน ก็จบลงตรงที่หัวใจวายเฉียบพลัน เพราะหัวใจคุณสุดที่จะทนทานแล้ว

       "แต่" การเพาะกาย ไม่ใช่กีฬาต่อเนื่อง  มีการยกน้ำหนักซึ่งต้องใช้พละกำลัง (หัวใจคุณสูบฉีดแรง)  และมีเวลาพักเซท (หัวใจคุณผ่อนการสูบฉีดลง) สลับกันไป สลับกันมาอย่างนี้  ซึ่งด้วยลักษณะการออกกำลังแบบนี้ (เพาะกาย) ต่างหาก ที่หากมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น เกี่ยวกับหัวใจ หรืออาการหน้ามืด จากเรื่องเกี่ยวกับเลือด ฯลฯ คุณจะรับรู้อาการนั้นได้ และหยุดเล่นเพาะกายก่อน เพื่อเดินไปหาหยูกยามากิน หรือเดินทางกลับบ้าน หรือเดินทางไปหาหมอได้อย่างปลอดภัย

       ในชีวิตผม ผมเห็นนักเพาะกายอายุยืน 90 ปี + มาหลายท่านแล้ว  ถ้าคุณหมอทั้งหลาย ว่ากีฬาจำพวกวิ่ง มันดีกว่าการเพาะกายจริง ทำไมถึงมีตัวอย่างของนักเพาะกายอายุ 90 ปี+  และทำไม
ถึงมีตัวอย่างของคนที่ตายแบบเฉียบพลันด้วยการออกกำลังกายแนวที่ท่านว่าดีล่ะ?  ย้อนกลับไปหานิยามของคำว่า "ทฤษฏี" อีกทีซิ  (ทฤษฏี คือข้อเท็จจริงที่จะต้องเป็นจริงในทุกกรณี จะไม่มีข้อยกเว้น)

       และผมก็ไม่ได้มีอคติกับการออกกำลังกายแบบวิ่ง (ไม่เหมือนกับท่าน ที่ยังมีอคติกับการออกกำลังแบบเพาะกาย)  ผมถือว่าการออกกำลังทุกชนิด มีประโยชน์ทั้งหมด แต่ในเมื่อถูกโจมตี โดยเอาเรื่องปริญญาบ้าง ,เรื่องวิชาการบ้าง ,เรื่องความน่าเชือถือส่วนตัวบ้าง ของท่านมาใช้  ผมจึงต้องเอาข้อเท็จจริงพวกนี้มาเล่าสู่กันฟังครับ  สุดแล้วแต่เพื่อนสมาชิกจะเลือกใช้วิจารญาณกันเอาเองครับ

- END -